วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Quiz #2 TPS

**** จงยกตัวอย่างการใช้งานระบบ TPS มา 1 ระบบ อธิบายให้ละเอียดถึงกระบวนการทำงาน และ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในระบบ

***** กลุ่มละไม่เกิน 6 คน กำหนดส่งไม่เกิน วันที่ 20 กค. 2551 ***

(ผมไป post ผิดไว้ที่ http://krirk123.blogspot.com ขอโทษที่สร้างความสับสนเล็กๆ)

19 ความคิดเห็น:

krikr-25 กล่าวว่า...

ผู้ร่วมงาน
1.นายปีชมนล์ ท่ากั่ว 502-04-5015
2.นายวิวัฒน์ เจริญพาณิชย์ศิริ502-04-5016
3.ชฎารัตน์ ดอกจันทร์ 502-04-5018
4.น.ส.เกศินี เทียนศรี 502-04-5030
5.น.ส.ภัคกุล หาญเชิงชัย 502-04-5038

ระบบประมวลผลข้อมูล(TRANSACTION PROCESSING SYSTEM : TPS) เป็นระบบประมวลผลข้อมูล ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆของธุรกิจที่เกิดจากเหตุการณ์ประจำวัน การปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เมื่อมีการปฏิบัติงานดังกล่าว ข้อมูลที่เกี่ยวข้องก็จะเกิดขึ้นทันที เราจะรู้ในแต่วัน อันเป็นระบบสาระสนเทศที่สำคัญเนื่องจากเรามีข้อมูลที่ดีและแม่นยำ การใช้ระบบ TPS จะทำให้ระบบมีการสนับสนุนงาน MIS แม่นด้วยข้อมูลที่เราอยากจะทราบดีขึ้นด้วย ในระบบ TPS ทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศแล้วส่งต่อไปยังระบบต่าง ๆต่อไป

กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 2 อย่าง คือ
1. BATCH เป็นการประมวลผลเป็นชุด โดยรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติการรวมไว้เป็นกลุ่ม เพื่อให้การตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจะส่งไปประมวลผล เราจะทำได้ทุกวันหรือทุกสัปดาห์ก็ได้
2. ONLINE INTERACTIVE SYSTEMS หรือ ONLINE SYSTEMS จะ UPDATE MASTER FILE ทันที หรือเรียกว่าขอใช้กันเดี๋ยวนั้นเลย ผู้ใช้งานเชื่อมต่อกับโต้ตอบกับระบบ TPS โดยตรง


อาจารย์ค่ะ แผนผังเสร็จแล้วแต่copyไม่ได้(ตามเคย)ขอส่งเป็น A4ก่อนได้นะค่ะ แล้วจะรีบแก้ไขโดยเร่งด่วนค่ะ ขอบคุณค่ะ(ต้องรีบไปวัด)

noonok กล่าวว่า...

Quiz # 2 TPS

Transaction Processing Systems ( TPS )
เป็นการแทน Manual Process ด้วย Computer Based Process
สนับสนุนงาน ระดับปฏิบัติการประจำวัน ( Day to day Operation )
ใช้กับลักษณะการทำงานเป็นขั้นตอนและมีวิธีการทำงานที่แน่นอน
Record Capture -> TP-> File Maintainence ( Update Master File ) -> Reporting
เป็นระบบที่ใช้กับ operational level
แบ่งได้เป็น Batch Processing และ Online Processing

ตัวอย่าง Order Processing System

ระบบการสั่งซื้อประกอบด้วยขั้นตอนงานหลายขั้นตอน โดยระบบนี้เป็นจุดสำคัญในการดำเนินขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

รายการสั่งซื้อ Order Entry ต้องการข้อมูลพื้นฐานการดำเนินการสั่งซื้อของลูกค้า ซึ่งอาจสั่งซื้อโดยตรงจากพนักงานขาย หรือทางโทรศัพท์ หรือจดหมาย ข้อมูลจะถูกรวบรวมโดยพนักงานขาย ทำให้ทราบรายละเอียดตามวัตถุประสงค์ของลูกค้าว่าต้องการสินค้าอะไร เท่าไหร่ อย่างไร เช่น ต้องการสั่งจองรถยนต์ รุ่น..สี..ราคา..เป็นต้น
Sales Configuration การดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าและบริการการสั่งซื้อเพียงพอที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของลูกค้า
การวางแผนการขนส่ง Shipment Planning ระบบการวางแผนการขนส่งจะทำการตัดสินใจจากการสั่งซื้อ การส่งสินค้าที่มีคุณภาพให้ถึงลูกค้าได้ทันเวลา แผนกขนส่งจะรับผิดชอบการส่งสินค้าทั้งหมดแก่ลูกค้า และผู้จำหน่าย ระบบได้รับการเก็บรายการจากระบบการวางแผนการขนส่ง
การควบคุมรายการสินค้า Inventory Control สำหรับแต่ละรายการจัดเก้บระหว่างดำเนินการขนส่ง การจัดเตรียมจำนวนสินค้า และปริมาณการจัดเก็บผ่านระบบ Inventory Control เป็นระบบที่จะคอยอัพเดต คำนวณจำนวนของสินค้าที่เก็บอยูในสต๊อค
รายการแจ้งราคาสินค้า Invoicing ใบรับและใบแจ้งสินค้าจะถูกจัดทำขึ้นมาจากข้อมูลที่ได้รับจากการส่งของ แอพลิเคชั่นนี้สนับสนุนการติตามผลกิจจกรรมการขาย เพิ่มผลกำไร และส่งเสริมการบริการลูกค้าให้ดีขึ้น

รายชื่อกลุ่ม
1. นางกนกอร วิเศษลา รุ่น 24 รหัส 501-04-5030
2. นางสุทธนา ธนะเพิ่มพูล รุ่น 25 รหัส 502-04-5042
3. นายชนะ คุปตานนท์ รุ่น 25 รหัส 502-04-5046
4. น.ส.รักชนก จันทร์ทวีพร รุ่น 25 รหัส 502-04-5047

NongChok กล่าวว่า...

ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems -TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ TPS
1. มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตาม กฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2. เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
3. เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความ ถูกต้องเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
4. เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS
หน้าที่ของ TPS มีดังนี้
1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5. การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป

ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS

ลักษณะที่สำคัญของระบบ TPS มีดังนี้
มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
• แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนใน การป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
• กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
• มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
• มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
• TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
• ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
• ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
• มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
• ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง


กระบวนการของ TPS
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ
1. Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดย การรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2. Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผล และทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3. Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันที แต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
Customer Integrated Systems (CIS)
เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามาจาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM (Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATM ทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง มากขึ้น และทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้ ATM โดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงิน ในลักษณะที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่อง ATM
นอกจากงานของธนาคารแล้ว ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียน โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้

หน้าที่การทำงานของ TPS
งานเงินเดือน (Payroll)
• การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน
• การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
• การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง
การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing)
• การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
• การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์
การเงินและการบัญชี (Finance and Accounting)
• การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ
• การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี
• การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ
การขาย (Sales)
• การบันทึกข้อมูลการขาย
• การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า
• การติดตามข้อมูลรายรับ
• การบันทึกการจ่ายหนี้
• การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า วัสดุคงคลัง
• การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน(Inventory Management)
• การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ
• การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น










รายชื่อกลุ่ม
1.นาย วิษณุ กองสุข 503-04-5017
2.นาย สุขสวัสดิ์ ฟองชัย 503-04-5018
3.นาย ภพชัย ภุมมาบุตร 503-04-5053
4.นาย ศราวุธ ทรัพย์เวชการกิจ 503-04-5049
5.นาย สุภรัฐ เมฆรักเสรี 503-04-5055

Thaisiamonline กล่าวว่า...

TPS : Transection Processing Systems

ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น

ยกตัวอย่างการใช้งานระบบ TPS : ระบบบัญชี (Accounting system)

เป็นส่วนสำคัญมาก ซึ่งจะมีการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจากเอกสารทั้งการซื้อและขายประจำวัน และมีการออกรายงานเกี่ยวกับทางบัญชี การทำระบบบัญชีจะมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1.ลงบัญชีประจำวัน ระบบบัญชีจะมีสมุดรายวันอยู่ 5 เล่ม คือ สมุดรายวันทั่วไป สมุดรายวันรับ สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันขาย และสมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันทั่วไปจะต้องมีการป้อนเลขที่ใบสำคัญ วันที่ เลขที่บัญชี ชื่อบัญชี เดบิต เครดิต ส่วนสมุดรายวันอื่นก็เช่นเดียวกัน
2.ผังบัญชี เป็นส่วนที่สำคัญมากในระบบบัญชี คือ จะต้องมีการกำหนดผังบัญชี โดยแบ่งออกเป็นหมวด
3.บัญชีสินค้าคงเหลือ จะมีการอ้างถึงเลขที่บัญชี ชื่อบัญชี ยอดต้นปี และยอดคงเหลือปลายงวดแต่ละงวดในรอบปี
4.บันทึกยอดยกมา จะมีการอ้างถึงเลขที่ผังบัญชี แล้วป้อนยอดยกมาแต่ละบัญชี
5.การสร้างสมุดรายวัน องค์การสามารถสร้างสมุดรายวันขึ้น โดยกำหนดรหัสให้ ชื่อสมุดรายวันและคำนำหน้า
6.การพิมพ์รายงานงบการเงิน องค์การสามารถที่จะออกรายงานต่างๆ เกี่ยวกับระบบบัญชี

ระบบบัญชีลูกหนี้ (Account receivable) ระบบบัญชีลูกหนี้จะต้องมีการบันทึกหนี้ที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้า ให้กับลูกค้าทั้งเงินสดและเงินเชื่อ กรณีเงินสดจะออกบิลเงินสด กรณีขายเงินเชื่อจะออกใบกำกับสินค้าและตั้งหนี้
วัตถุประสงค์ของระบบบัญชีลูกหนี้
ติดตามการเก็บหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ลดโอกาสที่จะเกิดหนี้สูญ
ทราบสถานภาพของลูกหนี้ก่อนตัดสินใจขายเพิ่ม
ทำให้ทราบช่วงเวลาที่จะมีเงินไหลเข้าบริษัท

ความสามารถของระบบบัญชีลูกหนี้
บันทึกการรับเงินมัดจำ
*การติดตามหนี้
*การออกเอกสารใบลดหนี้/ใบรับคืนสินค้า
*การชำระหนี้
*บันทึกรายการลูกหนี้คงค้าง
*การตรวจสอบสถานะหนี้
*รายการเคลื่อนไหวของลูกหนี้
*รายละเอียดของลูกค้า

ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Account payable) จะมีการบันทึกมูลค่าหนี้ที่เกิดจากธุรกิจได้สั่งซื้อสินค้าหรือบริการและยังไม่ได้มีการชำระเงินให้กับผู้ขายปัจจัยการผลิต โดยส่วนใหญ่ระบบจะมีการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อเงินเชื่อและการซื้อเงินสด
วัตถุประสงค์ของระบบบัญชีเจ้าหนี้
*ติดตามการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้การค้า
*ลดความเสี่ยงที่เกิดจากความผิดพลาดในการชำระหนี้
*เป็นข้อมูลในการต่อรองกับผู้ขายสินค้า (Vendor)
*ทำให้ได้ข้อมูลเปรียบเทียบเกี่ยวกับราคาสินค้า บริการ และวัตถุดิบ
ความสามารถของระบบบัญชีเจ้าหนี้
*บันทึกการจ่ายเงินมัดจำ
*ติดตามระยะเวลาที่จะต้องชำระหนี้
*ออกเอกสารใบรับวางบิล
*ออกเอกสารใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือส่งคืนสินค้า
*การจ่ายชำระหนี้เรียงตามวันที่
*บันทึกรายการเจ้าหนี้คงค้าง
*การตรวจสอบฐานะเจ้าหนี้
*รายการเคลื่อนไหวของเจ้าหนี้
*รายละเอียดของเจ้าหนี้จะมีการเก็บข้อมูล ชื่อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ประเภทของผู้จัดจำหน่าย ระยะเวลาเครดิต เงื่อนไขในการชำระเงิน

1.สุรินทร์ อินบาง 491-04-1049
2.ศิลา คงภูรินาถ 491-04-1006
3.วลีรักษ์ ชูศิริอุทัย 491-04-1047
4.ฐิติรัตน์ ฤชาอนุกูล 491-04-1024
5.เสาวลักษณ์หิรัญพฤษบ์492-04-1020

Krirk กล่าวว่า...

เรียน อ.พีรพร

TPS(Transaction Processing Systems)
รายการที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการบันทึกและสามารถที่จะตรวจสอบได้ตลอดเวลา ไม่มีการตกหล่นหรือผิดพลาดของรายการ โดยเฉพาะการประมวลผลทางด้านบัญชี ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง หลังจากนั้นข้อมูลต่างๆจะต้องได้รับการบันทึกเก็บไว้เพื่อใช้ในการอ้างอิง หรือเก็บไว้ใช้ในการตัดสินใจ

หน้าที่การประมวลผลรายการ (Transaction processing function) มีหน้าที่ 3 อย่าง ได้แก่
1. การบันทึก (Book keeping) การบันทึกข้อมูลรายการทางธุรกิจซึ่งเกิดขึ้นวันต่อวันระหว่างกลุ่มเพื่อความถูกต้องและรวดเร็ว
2. การสั่งการ (Issuance) โดยอ้างอิงถึงการผลิต เช่น เอกสารการจ่ายเงิน เอกสารจะให้อำนาจในการตัดสินใจทำกิจกรรมด้วยตนเอง
3. การควบคุมรายงาน (Control reporting) รายงานจะถูกทำขึ้นตามกระบวนการประมวลผลรายการโดยมีจุดประสงค์เพื่อการควบคุมการปฏิบัติ ในการประมวลผลรายการมักจะมีจำนวนข้อมูลจำนวนมาก จึงต้องมีการกำหนดรายงานการผิดพลาด (Error reports) ซึ่งมักจะเกิดจากการความผิดพลาดในรายการที่บันทึก ในบางสถานการณ์อาจจะมีการบันทึกในสิ่งที่เป็นข้อยกเว้น

ยกตัวอย่างระบบย่อย TPS 1 ระบบคือ

ระบบใบสั่งซื้อและการออกบิล (Order processing & billing) เป็นเอกสารที่องค์การออกเพื่อยืนยันการสั่งซื้อของลูกค้า เรียกว่า ใบสั่งซื้อ (Order processing)
• ประโยชน์ของการสั่งซื้อด้วยคอมพิวเตอร์
• สะดวก รวดเร็ว ได้มาตรฐาน อ่านข้อมูลในใบสั่งซื้อได้ชัดเจน
• สามารถคำนวณราคาได้อย่างถูกต้อง
• สามารถรวบรวมยอดสะสมจากการซื้อของลูกค้าแต่ละราย
• สามารถตรวจสอบรายการสินค้าที่มีปริมาณการสั่งบ่อยครั้ง เพื่อผู้จำหน่ายจะได้จัดเตรียมสินค้าไว้จำหน่ายตามความต้องการลูกค้า
ระบบการออกบิล (Billing system) เป็นกิจกรรมที่ต้องทำทุกครั้งที่มีการขายเพื่อยืนยันการขาย และได้มีการส่งมอบสินค้าตามที่ลูกค้าได้สั่งซื้อ โดยทั่วไปใบบิลหรือใบกำกับสินค้าประกอบด้วยข้อมูลดังนี้
• ข้อมูลหัวข้อนำ
• ข้อมูลทั่วไป
• ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า
• คุณสมบัติของระบบบิล คือ
• ระบบตรวจสอบวงเงิน จะมีการเรียกข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาตรวจสอบวงเงินเครดิตที่ให้กับลูกค้าแต่ละราย เพื่อดูว่าปริมาณการสั่งซื้อเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ ถ้าเกินวงเงินเครดิตลูกค้าจะต้องสั่งซื้อเป็นเงินสด ถ้าไม่เกินฝ่ายขายก็อนุมัติการสั่งซื้อได้
• การตรวจสอบสต๊อก ในกรณีที่ป้อนใบสั่งซื้อจะต้องมีการใส่รหัสสินค้าเพื่อการตรวจสอบว่ามีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าได้

การคำนวณราคาขาย
1. การกำหนดราคามาตรฐาน
2. การกำหนดส่วนลดพิเศษตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
3. การให้ส่วนลดพิเศษบางรายการหรือส่วนลดการค้า
4. การคำนวณค่าตอบแทนให้กับพนักงานขาย


รายชื่อกลุ่ม

1.นาง วาสนา จงภักดี รหัส 491-04-1007
2.นาย เกียจติพงษ์ จงภักดี รหัส 491-04-1008
3.นางสาว สุธิษา โตผล รหัส 491-04-1022
4.นางสาว สร้อยสุดา มีกลิ่น รหัส 491-04-1029
5.นาย นิพนธ์ ตั้งมั่นคุณธรม รหัส 491-04-1003

Krirk กล่าวว่า...

ขอโทษครับกลุ่ม Krirk ขอเพิ่มชื่ออีกท่านสมาชิกครับ.

6.ธีรภัทร์ แสงอรุณ รหัส 483-04-0152

ขอบคุณครับ.

krikr-25 กล่าวว่า...

เีัรียน อ.พีรพร
แผนผังที่ติดอาจารย์ไว้ขอส่งที่blogนะค่ะ นำไปลงเรียบร้อยแล้วอยู่ที่ blog 108-1009 ค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยดูให้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

Jinny กล่าวว่า...

ทำไมโพสต์ไม่ได้

Peraporn C. กล่าวว่า...

**** ตรวจถึงนี้แล้วครับ

Kornwikarn Sukkai กล่าวว่า...

TPS – Transation Processing System ระบบประมวลรายการทางธุรกิจ ติดตามการทำสินค้าคงคลังในกลุ่มร้านอาหาร
- ตัดสินใจเมื่อมีการสั่งสินค้าเข้ามาที่สินค้าคงคลัง
- การกำหนดการขนส่งตามตารางส่งสินค้า
- กำหนดสินค้าคงคลังที่มีการทำใหม่
- กำหนดการออกบิลตามตารางบนพื้นฐาน ขึ้นอยู่กับสินค้าคงคลังที่มีการใช้ในระหว่างที่มีการออกบิล










ขบวนการประมาณ
- ระบบจะ link ไปสู่ธุรกิจที่อิสระ 5 ร้าน เป็นร้านย่อย ซึ่งมีการจัดการวัดผลความถูกต้อง วัดค่าประสิทธิภาพของสินค้าคงคลัง
- ระบบจะพยายามทำให้ร้านอาหารเล็ก ให้สามารถซื้อสินค้าที่มีความคล้ายคลึงกันตามมูลค่าความสำคัญ ที่มีการลดราคามากกว่าที่เราจะซื้อผ่านการขายปลีก
- ระบบจะติดตามการทำงานทั่วไปของสมมติฐาน ของสินค้าคงคลัง และจะแจ้งมา ผ่านระบบ MIS เมื่อสินค้าคงคลังเข้าสู่กระบวนการของการทำงาน หรือถูก Order
- ระบบ TPS ของร้านอาหารต้องการฮาร์แวร์ ในการติดตั้ง โดยการติดตั้งแบบ LAN หรือ Wireless

สมาชิกกลุ่ม krirk-25.blogspot.com
1) ปทุม ปติเขมวัฒน์ 502-04-5039
2) เลิศชัย คุณะนาคประด้บ 502-04-5019
3) ธนัฐสิริ จิรสิริโลจน์ 502-04-5037
4) อาจิณ จิวัฒนไพบูลย์ 502-04-5043

Tee กล่าวว่า...

TPS – Transation Processing System ระบบประมวลรายการทางธุรกิจ ติดตามการทำสินค้าคงคลังในกลุ่มร้านอาหาร
- ตัดสินใจเมื่อมีการสั่งสินค้าเข้ามาที่สินค้าคงคลัง
- การกำหนดการขนส่งตามตารางส่งสินค้า
- กำหนดสินค้าคงคลังที่มีการทำใหม่
- กำหนดการออกบิลตามตารางบนพื้นฐาน ขึ้นอยู่กับสินค้าคงคลังที่มีการใช้ในระหว่างที่มีการออกบิล










ขบวนการประมาณ
- ระบบจะ link ไปสู่ธุรกิจที่อิสระ 5 ร้าน เป็นร้านย่อย ซึ่งมีการจัดการวัดผลความถูกต้อง วัดค่าประสิทธิภาพของสินค้าคงคลัง
- ระบบจะพยายามทำให้ร้านอาหารเล็ก ให้สามารถซื้อสินค้าที่มีความคล้ายคลึงกันตามมูลค่าความสำคัญ ที่มีการลดราคามากกว่าที่เราจะซื้อผ่านการขายปลีก
- ระบบจะติดตามการทำงานทั่วไปของสมมติฐาน ของสินค้าคงคลัง และจะแจ้งมา ผ่านระบบ MIS เมื่อสินค้าคงคลังเข้าสู่กระบวนการของการทำงาน หรือถูก Order
- ระบบ TPS ของร้านอาหารต้องการฮาร์แวร์ ในการติดตั้ง โดยการติดตั้งแบบ LAN หรือ Wireless

สมาชิกกลุ่ม krirk-25.blogspot.com
1) ปทุม ปติเขมวัฒน์ 502-04-5039
2) ลิศชัย คุณะนาคประด้บ 502-04-5019
3) ธนัฐสิริ จิรสิริโลจน์ 502-04-5037
4) อาจิณ จิวัฒนไพบูลย์ 502-04-5043

Jinny กล่าวว่า...

เพิ่มสมาชิกครับอาจารย์
1) ปทุม ปติเขมวัฒน์ 502-04-5039
2) เลิศชัย คุณะนาคประด้บ 502-04-5019
3) ธนัฐสิริ จิรสิริโลจน์ 502-04-5037
4) อาจิณ จิวัฒนไพบูลย์ 502-04-5043
5) พงษ์เดช เขียวศรี 503-04-5027
6) อัญชนา ทองงาม 503-04-5050

clubzuza กล่าวว่า...

ระบบ TPS หรือ ระบบประมวลรายงาน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการขายสินค้า ระบบการจองโรงแรมห้องพัก ระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงาน/ลูกจ้าง หรือข้อมูลการขนส่งสินค้า โดยจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้มาทำการประมวลผล เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนให้กับองค์กรและนำข้อมูลไปใช้งานในภายหลัง เช่น วันนี้มียอดขายเท่าใด รายรับรายจ่ายเท่าใด มีเงินหมุนเวียนในระบบเท่าใดหรือในคลังสินค้า สินค้าที่นำออกไปมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น ยกตัวอย่าง ภายในร้านสะดวกซื้อเมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้าน และได้เลือกสินค้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะเดินไปยังแคชเชียร์เพื่อชำระเงินพนักงานยิงบาร์โค้ดไปยังสินค้าที่ลูกค้าซื้อ เพื่อดูว่าเป็นสินค้าใด มีราคาเท่าไหร่ และก็คำนวณราคาสินค้าทั้งหมดซึ่งทางร้านก็จะมีโปรแกรมสำหรับเช็คยอดสินค้า และจำนวนเงินที่ขายสินค้าแต่ละชนิดของวันนั้น ๆ จะเห็นได้ว่า จากการที่เรานำระบบ TPS มาใช้นั้น ทำให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น คือเราสามารถรู้ยอดสินค้า รู้รายรับ-จ่ายได้รวดเร็ว และยังทำให้ง่ายต่อการเช็คจำนวนสินค้าราคาสินค้า และช่วยในการวางแผนการจัดการเกี่ยวกับสินค้าภายในร้าน อีกทั้งยังทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการให้บริการที่รวดเร็วของร้านด้วย


น.ส.ศิรภัสสร วงษ์เนตร 49000855
น.ส.ธัญญลักขณ์ ทัพชัย 49003254
น.ส.วรนุช เสือเยะ 481-20-0211
น.ส.ภานุมาศ ฟักนาค 492-20-0002

clubzuza กล่าวว่า...

หวัดดีค่ะ อาจารย์คะ หนูส่งงานเดี่ยวอะค่ะที่เมื่อวันเสาร์ไม่ได้มาสอบ โพสไว้ในบล็อกแล้วนะคะ




น.ส.ธัญญลักขณ์ ทัพชัย 49003254(ม.ศรีปทุม)

ประชาธิปไตยเบ่งบาน กล่าวว่า...

ระบบ TPS (Transaction Processing System) ระบบประมวลผลรายการ (TPS : Transaction Processing Systems) บางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลข้อมูล (DP : Data Processing Systems) ซึ่งเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์การ ประมวลข้อมูลในยุคก่อนที่จะมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้นั้น จะเป็นการประมวลผลที่กระทำด้วยมือหรือใช้เครื่องคำนวณช่วย ต่อมามีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลโดยเฉพาะ
ในระบบธุรกิจเพื่อช่วยงานประจำ เช่น การสั่งซื้อสินค้า การจัดระบบสินค้าคงคลัง การทำบัญชีต่าง ๆ การทำใบเสร็จรับเงิน การทำใบแจ้งหนี้ ใบสั่งสินค้า รายการซื้อ รายการขาย ในการทำการประมวลผลรายการก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงานต่าง ๆ เป็นประจำ แต่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศได้เต็มที่เพราะเอกสารส่วนมากถูกนำไปใช้เกี่ยวกับงานประจำวัน เช่น การบันทึกรายการบัญชี การบันทึกยอดขายประจำวัน การออกใบแจ้งหนี้ เป็นการบันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำ ๆ ทุกวัน มากกว่าจะใช้เพื่อการบริหาร หรือการจัดการ เพราะรายงานประจำวันนั้น ไม่ระบุสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการทราบ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบว่า ลูกค้าประเภทไหนชอบสินค้าชนิดใด สินค้าใดจะมีแนวโน้มที่จะขายดีมากขึ้นหรือลดลง สินค้าประเภทใดที่เป็นที่นิยมในภาคไหน TPS เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศ แล้วส่งไปยังระดับต่อไป ตัวอย่างข้อมูลที่เข้ามาในระบบประมวลผลรายการ ได้ ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการขายสินค้า ระบบการจองโรงแรมห้องพัก ระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานลูกจ้าง หรือข้อมูลการส่งสินค้า โดยจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาเพื่อทำการประมวลผล โดยถือว่าระดับประมวลผลรายการเป็นระดับล่างสุดซึ่งในระดับนี้จำเป็นต้องมีการจัดการทำงานให้เป็นแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นระบบที่เก็บข้อมูลธรรมดาเพื่อนำไปใช้งานในภายหลัง เช่น วันนี้มียอดขายเท่าใด รายรับรายจ่ายเท่าใด มีเงินหมุนเวียนในระบบเท่าใดหรือในคลังสินค้า สินค้าที่นำออกไปมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ปัจจุบันระบบประมวลผลแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อมีการขายสินค้าเกิดขึ้นที่หน้าร้านสาขา ทางสาขาจะทำการบันทึกการขายครั้ง นั้นลงในคอมพิวเตอร์ (POS : point of sale) ซึ่งเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ท ใช้ระบบ on line
ขั้นตอนที่ 2 บันทึกการขาย เพื่อออกบิลขายแก่ลูกค้า
ขั้นตอนที่ 3 ระบบจะทำการตัด Stock ทันที เพื่อลบรายการสินค้าในคลังสินค้าที่ร้านสาขา
ขั้นตอนที่ 4 ระบบจะรายงานสินค้าคงเหลือซึ่งทางบริษัท โชคอินเตอร์ฟู้ดส์จะทราบทันทีเมื่อมี การบันทึกการขาย
ขั้นตอนที่ 5 ทางร้านสาขาจะทำการส่งใบสั่งซื้อสินค้ามายังบริษัททุกวันเพื่อยืนยันความต้องการ สินค้า
ขั้นตอนที่ 6 ทางคลังสินค้าจะทำการเช็คสินค้าใน Stock หรือผลิตสินค้าตามใบสั่งซื้อของสาขา
ขั้นตอนที่ 7 ทางคลังสินค้าจะจัดสินค้า และออกใบส่งสินค้า/ใบแจ้งหนี้
ขั้นตอนที่ 8 ทางแผนกขนส่งจะทำการตรวจสอบสินค้า และจัดส่งตามสาขาต่าง ๆ
ขั้นตอนที่ 9 เมื่อถึงสาขา ทางสาขาทำการตรวจสอบสินค้าตามใบส่งสินค้า
ขั้นตอนที่ 10 เมื่อรับสินค้าแล้วก็จะทำการบันทึกเข้า Stock เพื่อรอการจัดวางหน้าร้านรอการ จำหน่ายต่อไป
ขั้นตอนที่ 11 เบิกสินค้าเพื่อนำมาจัดวางหน้าร้าน รอการขายต่อไป
คุณระวีวรรณ วารีดี รหัส 493-04-1034
คุณกรกต พงษ์พันธ์ รหัส 491-04-1090
คุณมนัสนันท์ญาดา คำฟูรหัส 493-04-1006

lookkate กล่าวว่า...

ระบบลงทะเบียนเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ขั้นตอนการลงทะเบียนนักศึกษามีดังนี้
1.นักศึกษาต้องเตรียมสมุดบาร์โค้ดในการลงทะเบียน, บาร์โค้ดรายวิชา,บัตรนักศึกษา,เงินตามจำนวนที่ลงทะเบียน
2.ยืนชำระค่าลงทะเบียนเรียน
3.รับสมุดบาร์โคด์คืน

ขั้นตอนที่ 1 นักศึกษาเตรียม
-สมุดบาร์โค้ด
-บาร์โค้ดรายวิชา
-บัตรนักศึกษา
-เงินตามจำนวนที่ต้องการลงทะเบียนและค่าธรรมเนียม

ขั้นตอนที่ 2 ยื่นลงทะเบียนและชำระเงินกับเจ้าหน้าที่
-เจ้าหน้าที่จะยิงบาร์โค้ดที่บัตรนักศึกษา ระบบจะไปที่ฐานข้อมูลเืพื่อเช็คว่ารหัสนี้สมัครเข้าปีการศึกษาใด (แต่ละรหัสปีการศึกษา ค่าำบำรุงมหาวิทยาลัยจะไม่เท่ากัน)และเช็คสภาพความเป็นนักศึกษา(ว่าขาดสภาพความเป็นนักศึกษาหรือไม่) และเช็ควันลงทะเบียนเรียนว่าตรงกับวันที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดหรือไม่ หากไม่ตรงก็จะมีค่าปรับ เมื่อเช็คแล้วระบบจะแจ้งค่าำบำรุงมหาวิทยาลัย และแจ้งสภาพความเป็นนักศึกษาในกรณีที่ขาดความเป็นนักศึกษา ระบบก็จะแจ้งให้ชำระค่ารักษาสภาพความเป็นนักศึกษา และแจ้งค่าปรับหากลงทะเบียนไม่ตรงกับทางมหาวิทยาลัยกำหนด
-เจ้าหน้าที่จะยิงบาร์โค้ดที่รายวิชา ระบบจะบันทึกรายวิชาที่ลงทะเบียน และคำนวณยอดเงินของรายวิชา
-ระบบจะทำการสรุป คำนวณยอดรวมทั้งหมด ของ ค่าำบำรุงมหาวิทยาลัย,ค่ารักษาสภาพนักศึกษา(หากหมดสภาพความเป็นนักศึกษา),ค่าลงทะเบียนเรียนรายวิชา,ค่าปรับวันลงทะเบียนเรียน(หากไม่ตรงกับทางมหาวิทยาลัยกำหนด)หลังจากนั้นเจ้าหน้าจะสั่งPrintออกทางเครื่องPrintที่เตรียมกระดาษไว้

ขั้นตอนที่ 3
-นักศึกษารับสมุดบาร์โค้ดคืน

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
น.ส. อัจฉรา ศรีวรฤล 503045020
น.ส. วิภาภรณ์ อรุณรักษา 502045034
น.ส. ภัทร์พร กิตติอภิญญา 503045036
นาย ก้องหล้า นิไชยโยค 493041049
นาย พีรวัส วุฒิสุวรรณวัฒน์ 503045056

ม.เกริก2551 กล่าวว่า...

เรียน อาจารย์พีรพร
กระผมและเพื่อนขอความกรุณา อาจารย์พีรพร ชอบชื่นครับ กระผมและเพื่อนขอส่งงานย้อนหลังครับ
1.นายวุฒิชัย ดียิ่ง รหัสประจำตัว 503–04–5044
2.นางสาวสุภารัตน์ อินทร์ละม่อม
รหัสประจำตัว 503–04–5045

ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานเพื่อการดำเนินงานอยู่เป็นประจำ (Routine)ที่เป็นรายการ ((Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ) ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ ข้อมูลเหล่านี้ รวบรวมเป็นฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งเป็นมูลที่จะใช้อยู่เป็นประจำ หรือใช้บ่อยๆ ที่ต้องนำกลับไว้ใช้ใหม่ หรือรอการนำไปประมวลผลร่วมร่วมกับระบบอื่น ๆ อยู่เสมอ เช่นใช้ร่วมกับ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS), ระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM), ระบบการจ่ายเงินเดือน (Payroll) เป็นต้น เพื่อการดำเนินตามวัตถุประสงค์ขององค์กรต่อไป

ลักษณะสำคัญของ TPS
1.ข้อมูลจำนวนมากที่ไว้เพื่อการใช้งาน
2.ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลขององค์กร เพื่อใช้กันภายในองค์กร แต่บางครั้งอาจมีการให้ข้อมูลกับภายนอกได้ เช่น คู่ค้าขององค์กรอนุญาตให้ใช้ได้บางส่วน ลูกค้าขององค์กรสามารถโต้ตอบกับระบบลูกค้าสัมพันธ์ได้ เป็นต้น
3.สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
4.ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ความจุในการเก็บรักษา
5.ข้อมูลปริมาณมากๆต้องใช้ความรวดเร็วในการใช้งาน
6.ข้อมูลที่เรียกดูและจัดเก็บได้ตลอดเวลา
7.มีโครงสร้างและมาตรฐานของการใช้งานอย่างชัดเจนและมีเสถียรภาพ
8.เพิ่ม High level ลักษณะพิเศษของข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลดิบที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
9.TPS ที่ดี ต้องใช้งานได้ทุกระดับ ไม่ซับซ้อนเกินไป
10.ข้อมูลมีความถูกต้องและเชื่อถือได้
11.เรียกใช้ได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

วัตถุประสงค์ของ TPS
ที่สำคัญคือ นำเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยในการจัดการข้อมูล การเก็บ รวบรวม ประมวลผล รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อเชื่อมโยงและใช้งานด้วยกันได้ได้ ภายในเวลาที่รวดเร็ว และลดปัญหาการผิดพลาด โดยนำข้อได้เปรียบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในความแน่นอนของการประมวลเป็นประจำ เพื่อใช้ในการทำงานให้องค์การโดยรวมดำเนินตามนโนบายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สูงสุด

ระบบประมวลผลรายการสามารถแบ่งตามวิธีการประมวลผลข้อมูล ได้แก่
1.ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) ข้อมูลจากหลายๆรายการ จากผู้ใช้หลายๆ คน หรือจากช่วงเวลาหลายๆ ช่วง ถูกรวมเข้าด้วยกัน, นำเข้า และประมวลผลเหมือนเป็นกลุ่มเดียว ตัวอย่างเช่น ยอดขายรายวันซึ่งถูกประมวลผลเพียงวันละหนึ่งครั้ง จะใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มนี้เมื่อข้อมูลไม่จำเป็นต้องปรับปรุงทันที และเมื่อมีข้อมูลจำนวนมากที่คล้ายกัน ต้องถูกประมวลผลในครั้งเดียวกัน
2.ระบบการประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing)
การประมวลผลออนไลน์ Online Transactional Processing : OLTP ข้อมูลถูกประมวลผลเมื่อป้อนข้อมูลเข้าโดยไม่ต้องเก็บไว้ประมวลผลในภายหลัง เช่น ระบบเช็ครายการสินค้าออกของร้านขายของชำ โดยระบบจะทำการออกใบเสร็จรับเงินที่แสดงรายการสินค้าทันทีหลังจากรายการสินค้าต่างๆ ที่ซื้อ ถูกประมวลผล หรือ หากมีการจำหน่ายสินค้าออกไปโดยบันทึกผ่านเครื่องเก็บเงิน ระบบก็จะนำยอดที่จำได้ไปบวกรายได้ลงในระบบบัญชีทันทีหรือ รวมถึงจะมีการหักลบจำนวนสินค้าคงเหลือได้เช่นกัน
การประมวลผลโดย Web-Based (Web-Based Interactive Transaction Processing) การสั่งซื้อหรือคำร้องขอของลูกค้าจะถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกค้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิตและเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิตเมื่อได้รับคำสั่งซื้อนั้น สามารถพิจารณาได้ว่ามีสินค้าพอหรือไม่ ถ้าต้องผลิตเพิ่มจะทำการส่งคำสั่งซื้อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของแหล่งผลิตอย่างอัตโนมัติ เช่น การสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ Dell ผ่านทางเวปของบริษัท ลูกค้าสามารถเลือกดู ระบุรายละเอียดเครื่องและสั่งสินค้าของบริษัทได้ตามต้องการ

ประโยชน์ของ TPS ในเรื่องประหยัดเวลาและคุ้มค่า
ระบบประมวลผลรายการการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานหรือรูปแบบที่ผู้รับอนุญาตเพื่อที่จะสามารถนำไปดำเนินรายการธุรกิจตามมาตรฐานที่กำหนด ระหว่างแผนกในองค์กร ระหว่างบริษัทหรือระหว่างชุดโปรแกรมกับชุดโปรแกรมของบริษัทได้
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กรต่างๆ และดำเนินตามมาตรฐานและขบวนการซึ่งอนุญาตให้ผลลัพธ์จากระบบหนึ่ง ถูกประมวลผลโดยตรงเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าไปยังระบบอื่นๆได้ โดยไม่ต้องให้มนุษย์เป็นผู้ดำเนินการระหว่างขบวนการเหล่านี้เลย จะลดค่าใช้จ่ายด้านเอง สามารถลดจำนวนการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ ลดค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงาน และการขนส่ง

ตัวอย่าง กิจกรรมที่ใช้ระบบการประมวลผลรายการ TPS ได้แก่ กระบวนการสั่งซื้อสินค้า
การสั่งซื้อสินค้า การจัดระบบสินค้าคงคลัง การทำบัญชีต่าง ๆ การทำใบเสร็จรับเงิน การทำใบแจ้งหนี้ ใบสั่งสินค้า รายการซื้อ รายการขาย ในการทำการประมวลผลรายการก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงานต่าง ๆ เป็นประจำ แต่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศได้เต็มที่เพราะเอกสารส่วนมากถูกนำไปใช้เกี่ยวกับงานประจำวัน เช่น การบันทึกรายการบัญชี การบันทึกยอดขายประจำวัน การออกใบแจ้งหนี้ เป็นการบันทึกรายการตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำ ๆ ทุกวัน มากกว่าจะใช้เพื่อการบริหาร หรือการจัดการ เพราะรายงานประจำวันนั้น ไม่ระบุสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการทราบ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบว่า ลูกค้าประเภทไหนชอบสินค้าชนิดใด สินค้าใดจะมีแนวโน้มที่จะขายดีมากขึ้นหรือลดลง สินค้าประเภทใดที่เป็นที่นิยมในภาคไหน
TPS เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศ แล้วส่งไปยังระดับต่อไปตัวอย่างข้อมูลที่เข้ามาในระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการขายสินค้า เช่น บริษัท Otis Elevator ได้รับคำสั่งให้ไปซ่อมลิฟท์(สินค้า) เจ้าหน้าที่ป้อนการสั่งการลงไป ระหว่างที่จัดเตรียมรถได้สื่อสารไปยังพนักงานซ่อมรับคำพร้อมเดินทางอยู่แล้ว เครื่องมืออุปกรณ์ถูกจัดเตรียมตั้งแต่รับคำสั่งในครั้งแรกและทุกอย่างไปพร้อมกัน ณ ที่เกิดเหตุในทันที เป็นต้น
กิจกรรมอื่นๆ
ระบบการจ่ายเงินเดือน (Payroll system)
ระบบใบสั่งซื้อ และการออกบิล (Order processing & billing)
ระบบออกบิล (Billing system)
ระบบบัญชีพัสดุ (Inventory system)
ระบบบัญชี (Accounting system)
ระบบบัญชีลูกหนี้ (Account receivable)

Chaiwat Koophongsakorn กล่าวว่า...

อาจารย์ พีรพรครับ ผม นายไชยวัฒน์ คู่พงศกร รหัส 491-0410-46 ขออนุญาตส่งงานย้อนหลังครับ
ระบบ TPS(Transaction Pocessing System) เป็นระบบประมวลผลข้อมูล ซึ่งช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลข้อูลที่เกิดจากเหตุการณ์ประจำวันของธุรกิจ เช่น ยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบจากลกค้า กล่าวคือ นำระบบการประมวลผลมาใช้ในองค์การของเรา โดยการนำข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าเข้า และ server จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผล โดยดึงและจัดเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นราบงานให้กับผู้ใช้ และยังสามารถนำผลข้อมูลที่ได้นั้น print ทาง printer ได้อีกด้วย

Peraporn C. กล่าวว่า...

***** เก็บตกแล้วครับ